01
ทำไมต้องมีการจัดการความรู้ตามมาตรฐาน ISO 30401: 2018
การจัดการความรู้และนวัตกรรมเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ ที่เน้นการผสมผสานระหว่างความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ประสบการณ์จากบุคคล ร่วมด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อว่าจากองค์ความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน สามารถเป็นจุดกำเนิดสร้างนวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้หรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคคลหรือองค์กร การจัดการศึกษาในศาสตร์ของการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในสาขาต่าง ๆ ร่วมไปกับการบูรณาการวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การบริหารธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กร พฤติกรรมการเรียนรู้ และการมีประสบการณ์เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงโดยใช้กระบวนการวิจัยในบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นพลวัต เพื่อให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) และเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based economy)
02
policy ANNOUNCEMENT
ประกาศนโยบายระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management Systems)
เพื่อให้การดำเนินการจัดการความรู้ของสาขาวิชาการจัดการความรู้และนวักรรม (ระดับบัณฑิตศึกษา) เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนสอดคล้องกับปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ จึงกำหนดนโยบายการจัดการความรู้ของหลักสูตรฯ ดังนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หลักสูตรฯ มีการดำเนินงานด้านระบบการจัดการความรู้ โดยมุ่นเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร เพื่อพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
2. เสริมสร้างวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงและก่อให้เกิดนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรของหลักสูตรฯ เข้าถึงองค์ความรู้ได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว
ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2565
03
Knowledge and Innovation Management
04
Progress
05
06
07
08
09
10
11
ศูนย์ KIND by CAMT นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา คำอักษร ผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยคณบดีด้านการพัฒนาองค์ความรู้และการจัดการนวัตกรรม/ หัวหน้าศูนย์การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม (Knowledge and Innovation Development: KIND) พร้อมด้วยทีมงาน ดำเนินงานโครงการที่ปรึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการประเมินมาตรฐานด้านการจัดการความรู้ระดับสากล (ISO 30401) ให้แก่ ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ประกอบด้วย คุณสธนธร ฤทธิจันทร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่วนบริหารจัดการความรู้องค์กร คุณปานไพลิน พยัคฆ์วิเชียร พนักงานทรัพยากรบุคคล ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล หน่วยบริหารการจัดการความรู้ และบุคลากรธนาคารออมสิน รวมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ 5 ท่าน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมเทีย ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขององค์กรในการบริหารและจัดการระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management Systems) ตามกรอบมาตรฐานสากล ISO 30401 โดยให้คำปรึกษาฯ เกี่ยวกับระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management Systems) ตามกรอบมาตรฐานสากล ISO 30401 ให้แก่ผู้บริหารฯ และบุคลากรในสังกัดธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสาระสำคัญ เป้าหมาย และแนวทางการจัดการความรู้ ตามกรอบมาตรฐานสากล ISO 30401