#

ISO 30401: 2018


Knowledge and
Innovation Management


Doctor of Philosopy (International Program)
Master of Science Program (Bilingual Program)

Philosophy

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<

01

WHY ISO 30401: 2018

ทำไมต้องมีการจัดการความรู้ตามมาตรฐาน ISO 30401: 2018

#

 

การจัดการความรู้และนวัตกรรมเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ ที่เน้นการผสมผสานระหว่างความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ประสบการณ์จากบุคคล ร่วมด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อว่าจากองค์ความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน สามารถเป็นจุดกำเนิดสร้างนวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้หรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคคลหรือองค์กร การจัดการศึกษาในศาสตร์ของการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในสาขาต่าง ๆ ร่วมไปกับการบูรณาการวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การบริหารธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กร พฤติกรรมการเรียนรู้ และการมีประสบการณ์เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงโดยใช้กระบวนการวิจัยในบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นพลวัต เพื่อให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) และเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based economy)

02

KMS Policy Objectives

Knowledge Management Systems

ประกาศนโยบายระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management Systems)

#

1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หลักสูตรฯ มีการนำดำเนินงานด้านระบบการนำจัดการนำความรู้ โดยมุ่งเน้นการนำมีส่วนร่วมของบุคลากร เพื่อพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

#

2. เสริมสร้างวัฒนธรรมการนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำนำความรู้ที่ได้จากการนำแลกเปลี่ยนไปประยุกต์ใช้ในการนำปฏิบัติงาน เพื่อทำให้เกิดการนำปรับปรุงและก่อให้เกิดนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

#

3. พัฒนาระบบบริหารจัดการนำความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรของหลักสูตรฯ เข้าถึงองค์ความรู้ได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว

ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2565

03

วิสัยทัศน์ด้านการจัดการความรู้

Knowledge Management Vision

"เป็นหลักสูตรชั้นนำด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาองค์กรและสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่ความยั่งยืนในระดับสากล" 

04

พันธกิจด้านการจัดการความรู้

Knowledge Management Mission

การพัฒนากำลังคน (Talent) ที่มีความสามารถทางด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

การส่งเสริมการทำวิจัยและบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและชุมชน

การดำเนินงานที่คล่องตัว ยืดหยุ่น และเป็นระบบ เพื่อรองรับการบริหารจัดการการเรียนรู้รูปแบบใหม่

05

ISO 30401 : 2018 ปี พ.ศ. 2567-2568

Progress

06

 

Knowledge management systems Requirement

07

visualization characteristics of the organization

08

 

KIM QUALITY PROCEDURES 2020

09

KIM QUALITY PROCEDURES Revision 2021

10


 

KIM QUALITY PROCEDURES Revision 2022

11

KIM QUALITY PROCEDURES Revision 2023

12


 

KIM QUALITY PROCEDURES Revision 2024

13

Activity in ISO 30401 : 2018 KIM CAMT

ศูนย์ KIND by CAMT
ดำเนินงานโครงการที่ปรึกษาด้านการบริหารระบบการจัดการความรู้ตามกรอบมาตรฐาน ISO 30401: 2018 Knowledge Management Systems
และการบริหารระบบการจัดการนวัตกรรมตามกรอบมาตรฐาน ISO 56002: 2019
Innovation Management System
ให้แก่ ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศูนย์ KIND by CAMT นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา คำอักษร ผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยคณบดี
ด้านการพัฒนาองค์ความรู้และการจัดการนวัตกรรม/ หัวหน้าศูนย์การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม (Knowledge and Innovation Development: KIND) และพร้อมด้วยคณะทำงาน ดำเนินงานโครงการที่ปรึกษาด้านการบริหารระบบการจัดการความรู้ตามกรอบมาตรฐาน ISO 30401: 2018 Knowledge Management Systems และการบริหารระบบการจัดการนวัตกรรมตามกรอบมาตรฐาน ISO 56002: 2019 Innovation Management System ให้แก่ ผู้บริหารฯ และบุคลากรในสังกัดของศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ 28 ท่าน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ณ อาคารศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ (Innovation Learning Center, ILC) ตึก B ชั้น 3 ห้อง B 305 วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยในครั้งนี้เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเชื่อมโยงบริบทองค์กร เพื่อการกำหนดยุทธศาสตร์องค์กรสู่การจัดทำแผนแม่บทด้านการจัดการความรู้และการจัดการนวัตกรรม และการจัดทำระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการจัดการความรู้ (ตามกระบวนการจัดการความรู้)